Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.88 อ่อนค่าจากวานนี้ หลังดอลลาร์กลับมาแข็งค่าจากกังวลเศรษฐกิจโลก

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

13

2023-05

Date Icon
2023-05-13
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.88 อ่อนค่าจากวานนี้ หลังดอลลาร์กลับมาแข็งค่าจากกังวลเศรษฐกิจโลก

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ อยู่ที่ระดับ 33.88 บาท/ดอลลาร์ จาก ช่วงเย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.72/74 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากเย็นวาน เนื่องจากเมื่อคืนนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล เป็น ผลมาจากตลาดกลับมากังวลเศรษฐกิจโลก ทั้งจากวิกฤติธนาคารในสหรัฐ รวมทั้งปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐ ระหว่างวันต้องติดตาม flow จากต่างชาติ ขณะที่คืนนี้ ฝั่งสหรัฐฯ จะมีการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้น เดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.70 – 33.95 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (11 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.84280% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.95938% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.90500 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.52 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 134.70/73 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0920 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0928/29 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.688 บาท/ดอลลาร์ – ธปท.กังวลหนี้ครัวเรือนสูงลิ่ว คนไทยเข้าสู่วงจรหนี้เร็ว เตรียมออก 3 กฎปล่อยสินเชื่อใหม่ที่มีคุณภาพ หยุดแบงก์กระตุ้นคน ก่อหนี้ ให้สินเชื่อตามความเสี่ยง กำหนดอัตราส่วนหนี้ต่อรายได้ เผยตอนนี้คนไทยมีหนี้รวมเฉลี่ยมากกว่า 4 บัญชีต่อคน บางรายสูงกว่าราย ได้ถึง 25 เท่า หรือเกษียณแล้วยังต้องผ่อนหนี้กว่า 400,000 บาท – ต่างชาติแห่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยสูงสุดในรอบ 6 เดือน ก่อนเลือกตั้ง 14 พ.ค.นี้ หนุนเงินบาทผงาดขึ้นเป็นสกุลเงินที่ แข็งค่าที่สุดในเอเชียในเดือน พ.ค. – ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 7-2 ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับ ตั้งแต่ปี 2551 ในการประชุมเมื่อคืนนี้ ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ – กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 22,000 ราย สู่ระดับ 264,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.64 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 245,000 ราย – กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิตประจำ เดือนเม.ย. โดยดัชนี PPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำ สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 64 – ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (11 พ. ค.) ขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตธนาคาร, การผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐ และตลาดแรงงานที่อ่อนแอ – ตลาดจับตาการหารือรอบ 2 ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และนายเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎร สหรัฐ ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ หลังการเจรจาเมื่อวันอังคารเกี่ยวกับการเพิ่มเพดานหนี้ไม่ประสบความคืบหน้าแต่อย่างใด – ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ กล่าวเตือนว่า การผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจสหรัฐจะเผชิญภาวะถดถอย ขณะที่ชาวอเมริกัน 8 ล้านคนจะตกงาน และชื่อเสียงของสหรัฐจะเสียหาย ในกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระหนี้ – กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า การผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ เศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลก รวมทั้งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดีดตัวขึ้น อย่างไรก็ดี ขณะนี้ IMF ยังไม่สามารถประเมินผล กระทบที่ชัดเจนจากการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐ ที่จะมีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก – อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลง ขณะที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่าม กลางความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตธนาคาร และเพดานหนี้ในสหรัฐ นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรถูกกดดัน หลังการชะลอตัวของ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งจะเป็นปัจจัยชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว