InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.47 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.46 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงเช้า เงินบาทอ่อนค่าไปที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ หลังจากนั้น ก็ย่อตัวกลับมาอยู่ในระดับเปิดตลาด เนื่องจากเมื่อ คืนนี้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า เป็นเพราะดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของฝั่งสหรัฐ และยุโรปออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่ในภาพรวม เศรษฐกิจของสหรัฐยังดูดีกว่ายุโรป ปัจจัยวันนี้ ยังต้องติดตามการเมืองในประเทศ โดยโฟกัสไปที่ผลการประชุมของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล และการโหวต นายกรัฐมนตรีที่ยังมีความไม่แน่นอน นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.40-34.70 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.51250 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 141.41 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 141.31 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1072 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1081 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.494 บาท/ดอลลาร์ – จับตาดูการประชุมของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลวันนี้ ว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร หลังจากที่พรรคก้าวไกลส่งไม้ต่อให้พรรคเพื่อ ไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และให้สิทธิในการไปหาเสียงสนับสนุนเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองอื่น หรือจากฝั่ง สว. รวมทั้งต้องจับ ตาว่า การโหวตนายกรัฐมนตรีจะมีเหตุให้ต้องเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมในวันที่ 27 ก.ค.หรือไม่ – ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยและญี่ปุ่น ในช่วง 6 เดือน (ม. ค.-มิ.ย.) ปี 66 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ไทยขาดดุลท่องเที่ยวให้ญี่ปุ่น จากในอดีตไทยเกินดุลมาตลอด โดยมีนักท่องเที่ยวไทยเดิน ทางไปญี่ปุ่น 497,700 คน มากกว่านักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เดินทางมาเที่ยวไทย 326,347 คน และยังพบอีกว่า นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เข้ามา ท่องเที่ยวไทยแซงหน้านักท่องเที่ยวญี่ปุ่น โดยเข้ามาไทยแล้ว 757,767 คน เทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดที่จำนวนนักท่องเที่ยว 2 ประเทศนี้ใกล้เคียงกันมาตลอด – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.), คณะกรรมการนโยบาย สถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย โดยพบว่า ระบบการเงินไทยปัจจุบันยังมีเสถียรภาพ แต่ เผชิญกับความเสี่ยงที่อาจสูงขึ้นในระยะต่อไปจาก 2 เรื่อง คือ 1.ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและเอสเอ็มอี โดยเฉพาะ ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและเอสเอ็มอีในภาคการผลิตและการค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และ 2.ความ สามารถในการระดมทุนของภาคธุรกิจผ่านตลาดตราสารหนี้ จากความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ระดมทุนบางรายที่อาจสูงขึ้น – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 25-26 ก.ค.นี้ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 21 ปี หลังจากที่เฟดส่งสัญญาณมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในปีนี้ โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 66 ลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 3.0% แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับ สูงกว่าเป้าหมายที่ 2.0% – กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุบนเว็บไซต์ว่า ยุโรปควรเดินหน้าคุมเข้มนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยการ รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจเสียหายมากขึ้นในภายหลัง – สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (24 ก.ค.) หลังจากมีรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยูโรโซนชะลอตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์นี้ – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (24 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นัก ลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ รวมทั้งถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด – นักลงทุนเทน้ำหนักเกือบ 100% ในการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ใน สัปดาห์นี้ โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 99.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และให้น้ำหนักเพียง 0.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% – ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ราคาบ้านเดือนพ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.จาก Conference Board,ยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิ.ย., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2566 และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือน มิ.ย. และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมิ.ย.
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest