InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.83 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 34.67 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าเทียบท้ายตลาด เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค หลังผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) เมื่อคืนนี้ ออกมาว่าคงดอกเบี้ยตามคาด อย่างไรก็ดี การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของเจ้าหน้าที่เฟด (Dot Plot) สะท้อนว่าอาจการขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้ ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่า “ระหว่างวันวันนี้ตลาดยังคงย่อยข่าวผลประชุมเฟดเมื่อคืนต่อ ส่วนในประเทศต้องติดตาม Fund Flow” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.60 – 34.90 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (14 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.99457% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.22412% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.82250 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ระดับ 140.77 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 139.87 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0814 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0803 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.633 บาท/ดอลลาร์ – นักวิชาการ-นักลงทุน-ทูตประสานเสียงเร่งจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วที่สุด หวั่นกระทบความเชื่อมั่น เงินทุนไหลออก ขณะที่คน หวังค่าแรงขึ้น แต่สินค้าแพง เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง ฝากเป็นการบ้านแก้ปัญหาปากท้องด่วน – สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เผยแพร่รายงานความเสี่ยงด้านการคลังของปีงบประมาณ 65 วันที่ 13 มิ.ย.ที่ ผ่านมา ระบุในช่วงหนึ่งถึงความเสี่ยงในการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ว่า แผนระยะกลางรัฐบาลควรหาทางเพิ่มรายได้ของรัฐบาลต่อจีดีพี ให้สูงขึ้น จากที่ผ่านมาได้ปรับลดลงต่อเนื่องและระมัดระวังในการก่อหนี้ในระดับสูง – “แบงก์ชาติ” ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อ แม้ตัวเลขเดือนพ.ค.ต่ำคาด ย้ำทำนโยบายการเงินต้องมองยาว ห่วงเงินเฟ้อยังไม่ สงบ ท้ายปีอาจกลับมาเร่งตัวได้ ชี้ต้องทำให้อยู่ในกรอบยั่งยืน – คณะกรรมการเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเมื่อวันพุธ (14 มิ.ย.) และได้เปิด เผยการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ซึ่งบ่งชี้ว่า เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีก 2 ครั้ง สู่ ระดับ 5.50-5.75% ภายในสิ้นปีนี้ – เฟดปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวสู่ระดับ 1.0% ในปีนี้ แต่ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ในปี 2567 และ 2568 สู่ ระดับ 1.1% และ 1.8% ตามลำดับ ขณะที่อัตราการขยายตัวในระยะยาวอยู่ที่ระดับ 1.8% – กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวขึ้น 1.1% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.5% จากระดับ 2.3% ในเดือนเม.ย. – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (14 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามคาดในการประชุมครั้งล่าสุด – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (14 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการร่วงลงของ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนรอดูผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดทองคำ นิวยอร์กปิดทำการก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม – ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมิ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ. ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน – นักลงทุนรอรอผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest