InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.26/23 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ ระดับ 34.22 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทยังไร้ปัจจัยใหม่ เคลื่อนไหวในกรอบ 34.15 – 34.30 บาท/ดอลลาร์ ด้านสกุลเงินใน ภูมิภาคทรงตัว ยกเว้นเงินเยนที่อ่อนค่า สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามวันนี้ คือ อัตราเงินเฟ้อเดือนก.ค. ของยุโรป นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพุธไว้ที่ 34.00 – 34.50 บาท/ดอลลาร์ ในสัปดาห์นี้ต้องรอจับตาปัจจัยในประเทศ ทั้งการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 2 ส.ค. และ การเลือกนายกรัฐมนตรีวันที่ 4 ส.ค. นี้ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.2470 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 142.40/50 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 141.58 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1020/1030 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1020 ดอลลาร์/ยูโร – ธปท. เผยเศรษฐกิจไทย มิ.ย. อยู่ในทิศทางฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้า พร้อมมองเศรษฐกิจ เดือน ก.ค. ฟื้นต่อเนื่อง จับตาการจัดตั้งรัฐบาล และปัญหาค่าครองชีพเศรษฐโลก ทั้งนี้ คาดส่งออก ก.ค. ยังหดตัว แนวโน้มฟื้นตัวได้ช่วง ปลายปี – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มา อยู่ที่ระดับ 2.25% ในการประชุม กนง. วันที่ 2 ส.ค. นี้ ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะลดลงอย่างมาก เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่เงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงที่จะเร่งสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ จึงเป็นปัจจัยสนับสนุน ให้ กนง. ยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไป – China Beige Book International (CBBI) เปิดเผยรายงาน China Beige Book ซึ่งเป็นรายงานสำรวจภาวะ เศรษฐกิจจีนในวันนี้ (31 มิ.ย.) โดยระบุว่า กลุ่มผู้บริโภคของจีนปรับลดการใช้จ่ายเกือบทุกๆ ด้านในเดือนก.ค. ยกเว้นการใช้จ่ายด้าน การเดินทางและการรับประทานอาหารในภัตตาคาร ซึ่งส่งผลให้การเติบโตของรายได้ในภาคส่วนที่สำคัญของจีนชะลอตัวลง ขณะที่การฟื้นตัว ของเศรษฐกิจจีนเป็นไปอย่างซบเซา – ทางการจีน เปิดเผยว่า จีนเตรียมประกาศมาตรการใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นการอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความ พยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากโรคโควิด-19 แพร่ระบาด – ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวในวันจันทร์ (31 ก.ค.) ว่า กลุ่มบริษัทเอกชนและภาคส่วนต่างๆ ของญี่ปุ่นได้มีการขึ้น ราคาอย่างรวดเร็ว ซึ่งสวนทางกับก่อนหน้านี้ที่ต่างก็ระมัดระวังเรื่องการผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับครัวเรือน
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest