Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.81 แข็งค่าตามทิศทางภูมิภาค รับดอลลาร์อ่อนค่า จับตาทิศทาง Flow

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

05

2023-12

Date Icon
2023-12-05
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.81 แข็งค่าตามทิศทางภูมิภาค รับดอลลาร์อ่อนค่า จับตาทิศทาง Flow

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.81 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วันศุกร์ที่ระดับ 35.07 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคแข็งค่า จากดอลลาร์ที่อ่อนค่า เนื่องจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 ธ.ค.) ประธานธนาคาร กลางสหรัฐฯ (เฟด) พูดถึงความเสี่ยงในการขึ้นดอกเบี้ยมีความสมดุลมากขึ้น ประกอบกับทองคำดีดขึ้นทำนิวไฮ “ตลาดมองว่าเฟดจบการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว และใกล้ที่จะลดดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินส่วนใหญ่” นัก บริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.55 – 34.95 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามระหว่างวัน คือ Fund flow และให้ระวัง Flow ทองคำที่พุ่งสูง จึงอาจมี Flow ฝั่งส่งออก หรือขายดอลลาร์ซื้อบาทได้ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.97000 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 146.65 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 147.78 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0872 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0902 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.266 บาท/ดอลลาร์ – “รัฐบาล” จับตาสถานการณ์ หนี้ภาคธุรกิจ หลังหุ้นกู้ครบกำหนดชำระปี 67 เฉียด 1 ล้านล้าน ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจ ไม่สดใส ส่อกระทบโรลโอเวอร์หุ้นกู้ปีหน้า นายกฯ สั่งรับมือ ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ รายที่เสี่ยงผิดชำระหนี้ สศช.ชี้ระดมทุนผ่าน ตราสาร หนี้ มีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น “หอการค้า” เสนอรัฐบาลเร่งแก้ไขหนี้ภาคธุรกิจ แนะรัฐจัด กลุ่มลูกหนี้ ออกมาตรการจัดการหนี้ ช่วยให้ธุรกิจเอส เอ็มอีเดินได้ – “นักเศรษฐศาสตร์” มองเศรษฐกิจไทยโตช้า อาการน่าห่วง “ศุภวุฒิ” ย้ำไทยกำลังเผชิญวิกฤติโตต่ำ ห่วงเจอวิกฤติงบดุล ซ้ำเติม หลังหนี้รัฐเอกชน-ครัวเรือนพุ่งทั่วหน้า ถาม ธปท. เก็บกระสุนไว้ทำไม ด้าน “บัณฑิต” ชี้ ขีดความสามารถต่ำลงเรื่อยๆ ติงแบงก์ ชาติพูดแต่เรื่องดี ไร้สัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงที่ต้องเผชิญระยะข้างหน้า – “ส.อ.ท.” แนะรัฐอัดมาตรการกระตุ้น ศก. เพิ่มเติมระหว่างรองบประมาณหวังเป็นแรงส่งขับเคลื่อน ศก.ปี 67 ที่ยัง เผชิญความเปราะบางจากทั้งปัจจัยภายในที่หนี้ครัวเรือนสูง ค่าพลังงานต่างๆ ที่ยังคงมีทิศทางขาขึ้นจากหนี้สะสม ขณะที่ปัจจัยภายนอก ศก. โลกยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภูมิรัฐศาสตร์ขัดแย้งสูง – ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงเร็วเกินไปที่เฟดจะประกาศชัยชนะเหนือเงินเฟ้อ ถ้อยแถลงดัง กล่าวถือเป็นการดับความคาดหวังของตลาดที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า – เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ที่ 49.4 ในเดือนพ.ย. ลดลง จาก 50.0 ในเดือนต.ค. – สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐทรงตัวที่ระดับ 46.7 ในเดือนพ.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 47.6 โดยดัชนียังคงปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ภาวะหดตัวของภาคการผลิตสหรัฐ และเป็น การหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่ นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. และเมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งขึ้น 10.7% ในเดือนต.ค. – ราคาบิตคอยน์พุ่งขึ้นทะลุระดับ 40,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2565 โดยได้แรงหนุนจากกระแสคาด การณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย และคาดว่าอุปสงค์บิตคอยน์จะพุ่งขึ้นขานรับแนวโน้มการจัดตั้ง Spot Bitcoin ETF เป็นครั้งแรกในสหรัฐ – ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุน เวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนต.ค. โดย JOLTS เป็นหนึ่งในข้อมูลแรงงานที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เนื่องจาก เป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยของเฟด, ดัชนี ISM/PMI ภาคบริการ, ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชน, ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงานเดือนพ.ย. และจำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว