Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.98 แข็งค่า รับดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์ร่วง หลังตัวเลขศก.สหรัฐแย่กว่าคาด

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

05

2023-12

Date Icon
2023-12-05
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.98 แข็งค่า รับดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์ร่วง หลังตัวเลขศก.สหรัฐแย่กว่าคาด

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.98 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าเล็กน้อยจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.10 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อย เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน โดยดอลลาร์ปรับตัว อ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ร่วงลงมา หลังตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดจับตาดูการแถลงข่าวเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลว่าจะมีวิธีการอย่างไร “เปิดตลาดเช้านี้ บาทแข็งค่าลงมาตามทิศทางตลาดโลก แต่ยังเกาะกลุ่มค่าเงินภูมิภาค ระหว่างวันบาทอาจเด้งกลับมา ได้ตามปัจจัยใหม่ หลังปรับตัวแข็งค่าลงมาเร็ว” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.85 – 35.10 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.95750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.12 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 149.24/26 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0956 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0945/0950 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.222 บาท/ ดอลลาร์ – “ตลท.” ประเดิมจับมือ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เชื่อมลงทุน “ดีอาร์” ระหว่างกัน หวังเป็นเลือกให้ผู้ลงทุน เข้า ถึงการลงทุนต่างประเทศได้สะดวก “ภากร” เผยเล็งจับมือกับตลาดหุ้นในอาเซียนเพิ่ม – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดประชุม กนง. 29 พ.ย. คงดอกเบี้ยที่ 2.50% เหตุ ศก.ฟื้นตัว-เงินเฟ้อลด พร้อมคาดปี หน้า คงต่อเนื่องทั้งปี 67 หาก “จีดีพี” ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า ปี 66-เงินเฟ้อทรงตัวในกรอบ 1-3% – “คลัง” แจง พร้อมชง ครม.เคาะลุยโครงการ e-Refund ชูนำค่าใช้จ่ายไม่เกิน 5 หมื่นบาทลดหย่อนภาษี หวัง กระตุ้นใช้จ่ายปลุกเศรษฐกิจ – สศช.เตือนงบสวัสดิการด้านสังคมพุ่งทะลุ 1 ล้านล้าน ทำพื้นที่การคลังลด แนะประสิทธิภาพเก็บภาษี ลดความซ้ำซ้อน สวัสดิการ ควบคู่แก้ปัญหากับดักหนี้เกษตรกร-ประชาชน รัฐบาลเตรียมแถลงแก้หนี้นอกระบบใช้กลไกมหาดไทยเจรจาลูกหนี้-เจ้าหนี้ ลุ้น ก.พ.ชง ครม.วันนี้ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ดึงงบกลางจ่ายก่อน สศช.ชี้ปรับฐานเฉพาะข้าราชการบรรจุใหม่ ให้แข่งขันเอกชน ได้ ไม่ขึ้นทั้งระบบ – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ลดลง 5.6% สู่ระดับ 679,000 ยูนิตในเดือนต.ค. ต่ำกว่าที่ นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 723,000 ยูนิต จากระดับ 719,000 ยูนิตในเดือนก.ย. และหากเทียบรายปี ยอดขายบ้านใหม่พุ่ง ขึ้น 17.7% ในเดือนต.ค. โดยยอดขายบ้านใหม่ได้รับผลกระทบจากการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (27 พ.ย.) หลังจากสหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ต่ำกว่าคาดในเดือนต.ค. ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐใน สัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพื่อ ประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) – ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.1% ในไตรมาส 4/2566 หลังจากมีการขยายตัว 2.2%, 2.1% และ 4.9% ในไตรมาส 1, 2 และ 3 ตามลำดับ – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (27 พ.ย.) เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และการร่วงลงของ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนตลาด – ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ สัปดาห์นี้ ได้แก่ ราคาบ้านเดือนก.ย.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ บริโภคเดือนพ.ย.จากคอนเฟอเรนซ์บอร์ด, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2), รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนต.ค. และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนต.ค., ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และการใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง เดือนต.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว