Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.28 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค รับดอลลาร์อ่อนค่าหลังบอนด์ยีลด์ชะลอ

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

02

2024-02

Date Icon
2024-02-02
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.28 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค รับดอลลาร์อ่อนค่าหลังบอนด์ยีลด์ชะลอ

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.28 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.45 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล เงินหลัก หลังตัวเลขขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เป็นปัจจัยกดดันให้บอนด์ยีลด์ร่วงลง ส่วนปัจจัยในประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นผลพวงมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นส่งผลกระทบต่อค่า เงินบาทในวงจำกัด “บาทแข็งค่าลงมามากจากช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ร่วงลงมา หลังได้รับแรงกดดันจาก ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานออกมาสูงเกินคาด” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.15 – 35.40 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.35750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ 146.316 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 146.82/86 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ 1.0879 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0798/0802 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.514 บาท/ดอลลาร์ – “ศุภวุฒิ” กางข้อมูลดอกเบี้ย ไทยสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 แม้เงินเฟ้อติดลบ เตือนแบงก์ชาติ เศรษฐกิจได้รับผลกระทบ มากกว่าที่คาดคิด ทั้งภาคบริโภคและการผลิต “อมรเทพ” ชี้ส่วนต่างดอกเบี้ยทำตลาดเงินผันผวน “พิพัฒน์” หวั่นเศรษฐกิจระยะสั้นไม่ห่วง เท่าระยะยาว “พชรพจน์” ห่วงเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นเท่าก่อนโควิด “กิริฏา” ห่วงไทย ความสามารถถดถอย ฉุดศักยภาพเศรษฐกิจไทย ระยะยาว – นายกฯ ชวนชาวจีนเที่ยวไทยช่วงตรุษจีนรับฟรีวีซ่า สั่งทุกหน่วยงานเตรียมพร้อม ยันไทยมีมาตรการดูแลความปลอดภัยนัก ท่องเที่ยวทุกมิติ ด้าน “สุริยะ” กำชับ ทอท.อำนวยความสะดวกผู้โดยสารเต็มที่ คาดนักท่องเที่ยวจีนทะลักหลังขอทำการบินเข้าไทย 3,086 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 200% และจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 220% – WสุดาวรรณW เร่งปั๊มรายได้ท่องเที่ยว ท.ท.ช.จัดประชุม 1 กระทรวง 1 สัมมนาระดับโลก ชง ครม.เคาะทำแผนท่อง เที่ยวสำราญทางน้ำ – ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ ของนักวิเคราะห์ และเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 หลังจากที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 14 ครั้ง นักลงทุนคาด การณ์ว่า BoE จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนพ.ค. โดยปรับลดลง 0.25% สู่ระดับ 5.00% และอัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ระดับ 4.25% – กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 9,000 ราย สู่ระดับ 224,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 213,000 ราย – สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 49.1 ในเดือนม. ค. จากระดับ 47.1 ในเดือนธ.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 47.2 แต่ดัชนีอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิต สหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว และเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (1 ก. พ.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐร่วงหลุดจากระดับ 4% นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังถูกกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ค. – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (1 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า 4% – นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากเฟดส่งสัญญาณในการประชุมครั้งล่าสุดว่าจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว