ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.11 แข็งค่าตามภูมิภาค รับดอลลาร์อ่อนค่าหลังบอนด์ยีลด์ชะลอ - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.11 แข็งค่าตามภูมิภาค รับดอลลาร์อ่อนค่าหลังบอนด์ยีลด์ชะลอ

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

16

2024-02

Date Icon
2024-02-16
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.11 แข็งค่าตามภูมิภาค รับดอลลาร์อ่อนค่าหลังบอนด์ยีลด์ชะลอ

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.11 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.17 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก หลังดอลลาร์อ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ ปรับตัวลดลง เนื่องจากยอดค้าปลีกเดือน ม.ค.ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ ถึงแม้ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานประจำ สัปดาห์ของสหรัฐฯ จะออกมาดีกว่าคาดก็ตาม ส่วนปัจจัยในประเทศนั้นตลาดรอดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ โดยเมื่อคืนราคาทองและราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับขึ้น ซึ่ง จะทำให้มีการเคลื่อนไหวทั้งการส่งออกทองคำและการนำเข้าน้ำมัน “บาทแข็งค่าตามทิศทางตลาดโลกหลังดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก แต่ดูเหมือนตลาดจะให้ความสำคัญกับเรื่องยอด ค้าปลีกมากกว่ายอดขอรับสวัสดิการว่างงาน” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.95 – 36.20 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.13250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ 150.07 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 149.95 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ 1.0762 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0735 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.147 บาท/ดอลลาร์ – ‘เศรษฐา’นำถกบอร์ดเป๋าดิจิทัล สั่งตั้งอนุฯศึกษา 30 วัน ภายหลัง ‘ผู้ว่าการ ธปท.’แจ้งเพิ่งเห็นข้อมูลลับ ‘ป.ป. ช.’อยากขอไปศึกษา พร้อมดึง’แบงก์ชาติ-ดีอี’อุดช่องทุจริต – แบงก์กรุงไทย (KTB) แนะจับตาราคาทองคำ หากสามารถรีบาวด์ขึ้นต่อเข้าใกล้โซน 2,020 ดอลลาร์ต่อออนซ์ คาดว่า ผู้ เล่นในตลาดบางส่วน อาจเริ่มทยอยขายทำกำไรทองคำ ช่วยให้ชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท หรือหนุนการแข็งค่าของเงินบาทได้ – คลังปิดฉากมาตรการอีซี่อี-รีซีท มั่นใจว่าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ หลังจากร้านค้ากว่าหมื่นรายแห่ เข้าร่วมโครงการ พร้อมเดินหน้าจับใบกำกับภาษีเถื่อน – กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 212,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 219,000 ราย – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ระบุว่า ยอดค้าปลีกลดลง 0.8% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะ ลดลงเพียง 0.3% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบเป็นรายปี ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง 0.65% หลังจากพุ่งขึ้น 5.3% ในเดือนธ.ค. – ยอดค้าปลีกที่ลดลงมากกว่าคาดทำให้ตลาดมีความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 40% ต่อการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยยอดค้าปลีก – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (15 ก. พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกลดลงมากกว่าคาด ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มพิจารณาปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้านี้ – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (15 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและอัตราผล ตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลดลง หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ลดลงมากกว่าคาด – FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 40% ต่อการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน เดือนพ.ค. ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยยอดค้าปลีก

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว