ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.04 กลับมาแข็งค่ากว่าภูมิภาค รับแรงขายดอลลาร์-เม็ดเงินไหลเข้าหนุน - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.04 กลับมาแข็งค่ากว่าภูมิภาค รับแรงขายดอลลาร์-เม็ดเงินไหลเข้าหนุน

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

17

2024-02

Date Icon
2024-02-17
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.04 กลับมาแข็งค่ากว่าภูมิภาค รับแรงขายดอลลาร์-เม็ดเงินไหลเข้าหนุน

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.04 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้านี้ที่ระดับ 36.11 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร และมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาด พันธบัตร 2.6 พันล้านบาท ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.03 – 36.17 บาท/ดอลลาร์ “บาทกลับมาแข็งค่ากว่าภูมิภาค หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร และมี Flow เข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตร” นักบริหาร เงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 35.90 – 36.20 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีการ ประกาศดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐ และเช้าวันจันทร์สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จะแถลงตัวเลขจีดีพี ไตรมาส 4 ของปี 66 ซึ่งตลาดคาดว่าจะขยายตัว 2.5%

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ 150.22 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 150.07 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0762 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,386.27 จุด ลดลง 1.00 จุด, -0.07% มูลค่าซื้อขาย 43,564.47 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 760.57 ล้านบาท – ธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) คาดเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ 3.6% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ ที่ 1.6% – ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2567 เติบโต 2.7% จากการส่งออกขยายตัวจำกัดเพียง 1.8% รายได้ท่องเที่ยวยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19 และปัญหาหนี้อยู่ในระดับสูง – ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดปีนี้ได้เห็น กนง.มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังแรงส่งให้ เศรษฐกิจไทยขยายตัวและอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง – สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เผยยอดค้าปลีกของอังกฤษปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินคาดที่ 3.4% ในเดือน ม.ค.67 เมื่อ เทียบรายเดือน พลิกฟื้นจากระดับของเดือน ธ.ค.ที่ร่วงลง 3.3% – ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ กล่าวกับนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีของอิสราเอลว่า อิสราเอลไม่ควร เดินหน้าปฏิบัติการทางทหารในเมืองราฟาห์ หากไม่มีแผนงานที่น่าเชื่อถือในการคุ้มครองพลเรือนชาวปาเลสไตน์ – ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เผยเฟดจะไม่เร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากตลาดแรงงาน และเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง และขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเงินเฟ้อของสหรัฐกำลังปรับตัวสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน – ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงนโยบายการเงินซึ่งมีขึ้นปีละ 2 ครั้งต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่ง วุฒิสภาสหรัฐในวันที่ 7 มี.ค. – นักลงทุนจับตาการแถลงต่อสภาคองเกรสของประธานธนาคารกลางสหรัฐอย่างใกล้ชิด โดยคาดว่าการแถลงครั้งนี้จะเป็น ครั้งสุดท้ายก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในช่วงกลางเดือนมี.ค. โดยที่ประชุมจะประเมินความคืบหน้าของภารกิจในการต่อสู้ กับเงินเฟ้อ และมีความเป็นไปได้ว่าคณะกรรมการเฟดจะส่งสัญญาณว่าจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว