Skip to content

Interstellar Group

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.91 อ่อนค่าสวนทางภูมิภาค จับตาทิศทาง Flow-ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

22

2024-02

Date Icon
2024-02-22
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.91 อ่อนค่าสวนทางภูมิภาค จับตาทิศทาง Flow-ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.91 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.86 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทเช้านี้ อ่อนค่าตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ขึ้นมาเมื่อคืนนี้ และเป็นการอ่อนค่าสวนทางกับค่าเงินสกุล อื่นๆ ในภูมิภาค “เงินบาทอ่อนค่าสวนทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่แข็งค่า จากแรงกดดันต่อคณะกรรมการนโยบายดอกเบี้ย (กนง.) ใน การปรับลดดอกเบี้ย และเมื่อวานนี้เงินบาทก็แข็งค่าสุดในภูมิภาค วันนี้บาทเลยไม่ได้แข็งค่าต่อ” นักบริหารเงินระบุ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ Flow จากต่างชาติ และตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทั้งจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน รายสัปดาห์ และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.80 – 36.10 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.90500 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นที่ระดับ 150.05 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0828 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นที่ระดับ 1.0798 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.008 บาท/ดอลลาร์ – ผู้ว่าการ ธปท. ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ ระบุ ธปท. “ไม่ได้ดันทุรัง” เรื่องอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่สูงสุดใน รอบทศวรรษ เผยปัญหาเชิงโครงสร้าง และปัญหาตามวัฏจักรที่กระทบเศรษฐกิจไทย ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการกลับลำนโยบายการเงิน ด้าน “กนง.” ชี้ลดดอกเบี้ย เพิ่มแรงส่งผลต่อเศรษฐกิจไม่มาก ห่วงยิ่งลดดอกเบี้ยยิ่งกระตุ้นสร้างหนี้เพิ่ม – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยถึงสัญญาณการลดดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า มีความเป็นไปได้จากสถิติ ของเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลง ทั้งภาคการผลิตติดลบต่อเนื่องมาแล้ว 15 เดือน ยอดขายรถยนต์ที่ติดลบ การใช้จ่ายผ่านสินค้าคงทนต่ำ สิ่งที่ได้ หลักๆ เงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่อง 4 เดือน ดังนั้นมีเหตุผลพอที่ ธปท.จะประกาศลดดอกเบี้ย ขณะที่นโยบายการคลังด้านงบประมาณยังไม่ ชัดเจนจึงจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายด้านการเงินมาช่วย – “สมาคมค้าทองคำ” เผยธนาคารกลางหลายประเทศ ตุนทองคำเพิ่มนับพันตัน เตรียมรองรับสภาพคล่อง หวั่นความเสี่ยง เศรษฐกิจโลกถดถอยกว่าคาดการณ์ไว้ ด้านทองไทยมีโอกาสทะลุ 35,000 บาท หากเงินบาทอ่อนค่า-ดอกเบี้ยลด ช่วยหนุนราคาทะยาน ทำ “นิวไฮใหม่” – นักวิเคราะห์ ชี้ ทั่วโลกซื้อทองคำสะสมติดต่อ 2 ปีซ้อน พุ่ง 2 เท่าตัว จากความกังวลประเด็นเศรษฐกิจโลก จะเข้าสู่ ภาวะถดถอย จึงส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางทั่วโลกตุนทองคำกว่า 1,000 ตัน ติดต่อกันมา 2 ปีซ้อน เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว – องค์การการค้าโลก เปิดเวทีหาข้อสรุปอาบูดาบีแพคเกจช่วง 26-29 ก.พ. หวั่นตกขบวนความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การค้า เร่งหาวิธีรับมือผลกระทบโลกร้อน ห่วงโซ่ซัพพลายเชน กฎระเบียบใหม่ของโลก – ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 30-31 ม.ค. โดยกรรมการเฟดส่งสัญญาณไม่เร่งรีบ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง หากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป และกรรมการ เฟดยังคงไม่มั่นใจว่าควรจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันต่อไปอีกนานเท่าใด – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (21 ก.พ.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนม.ค. – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (21 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด – ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่เปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีกิจกรรม เศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนม.ค.จากเฟดชิคาโก, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคบริการขั้นต้นเดือนก.พ.จากเอส แอนด์พี โกลบอล, ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค. เป็นต้น

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว